วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย


การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่สืบไปจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนไทยทุกคน ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน ดังนี้


การรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมต่างๆ ทั้ง จากคนในท้องถิ่น และเอกสารที่ได้มีการบึนทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาวิจัยให้เข้าใจถึงแก่นแท้เอกลักษณ์และคุณประโยชน์ของวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้คนรุ่นใหม่เกิดการยอมรับ และนำไปปรับใช้กับชีวิตยุคปัจจุบันได้ 

-ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของประเพณีไทยโดยเฉพาะประเพณีในท้องถิ่นให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงเอกลักษ์ทางวัฒธรรมซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงจากวัฒ ธรรมอื่นๆที่เข้ามาได้

-การรณรงค์เพิ่อปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้กับคนไทยทุกคนเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันรวมทั้งภาคเอกชนต้องร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้วิชาการและทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน

-ส่งเสริมให้ใช้ศิลปะวัฒนธรรมเป็นซื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งวัฒนธรรมภายในประเทศระหว่างท้องถิ่นต่างๆและระหว่างประเทศ

-ปลูกฝังทัศนคติว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้างฟื้นฟูและการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติให้ทุกคนเกิดความเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

-สร้างศูนย์กลางในเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานทางด้านวัฒนธรรม ด้วยระบบเครื่อข่ายสารสนเทศ เช่นเวบไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตได้ง่าย อย่างไรก็ดีสื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย


การแบ่งประเพณีไทย



การแบ่งประเพณีไทย

      ประเพณีไทยแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา, ศิลปะ และประเพณี

ภาษาไทย เป็น ภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ.1826 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤต อีกทั้งยังได้รับได้รับอิทธพลมาจากภาษาต่างๆ ทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน ทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยจนถึงปัจจุบัน


ศิลปะไทย ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากพระราชาและชาววังครั้งแต่โบราณ และส่วนมากจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ศิลปะการสร้างภาพวาดฝาหนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และพิธีกรรมทางศาสนา การสร่างสิ่งก่อสร้างในทางพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์, วัด, หรือสถูป ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่นการจัดงานประจำปี นอกจากนี้แล้ววัดยังเป็นสถานที่เรียนหนังสือกับเยาวชนและประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา ส่วนสถูป และเจดีย์ ถูกสร้างขึ้นขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระพุทธรูป หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตของ พระพุทธเจ้าหรือของพระมหากษัตริย์นั้นก็จะเรียกว่าธาตุเจดีย์ และยังเป็นคติให้รำลึกถึงความเชื่อใน ศาสนาพุทธที่ว่าสังขารของคนนั้นไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีการเกิดก็ย่อมต้องมีวันแตกดับได้เป็นไปตามปัจจัยของโลก คนไทยมีประเพณีสร้างเจดีย์เอาไว้ในวัดมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเตือนใจคนใน สังคมไม่ให้ทำความชั่ว และหมั่นสร้างความดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในภพนี้และภพหน้า




ประเพณีไทย แสดง ให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาว บ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย และความผูกพันกับความเชื่อและ พุทธศาสนาเช่น

ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของชาวไตที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน



ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร



ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น




วัฒนธรรมประเพณีไทยของชาติล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมของไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวความคิด ความเชื่อ และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดําเนินชีวิตความเป็นมาในอดีต ซึ่งมีความสําคัญพอสรุปเป็นสังเกตได้ดังต่อไปนี้
พระพุทธศาสนาและพราหมณ์รวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น มีอิทธิพลต่อขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ในด้านความเชื่อในเรื่องของความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเป็นเครื่องเตือนจิตใจให้รู้จักเป็นผู้มีความเสียสละและความรักความสามัคคี ซึ่งจะเห็นได้จากงานบุญต่างๆที่ต้องใช้การร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะประสบผลสำเร็จ
เช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย เป็นต้น




มารยาทไทยเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอันเป็นเอกลักษ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน และการมีสัมมาคารวะ ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดควบคุมพฤติกรรมให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงามขนบธรรมเนียมประเพณี สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติ ถึงแม้ประเพณีจะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ก็แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นชนชาติเดียวกัน



ประเพณีไทย ทั้ง 4 ภาค


รายชื่อ ประเพณีไทย ทั้ง 4 ภาค

            ประเพณีพื้นบ้าน ภาษาอังกฤษ folk custom หรือ local custom





ประเพณีต่างๆ ในภาคเหนือ

ประเพณียี่เป็ง
ประเพณีทานขันข้าว
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
ประเพณีสลากภัต
           


          ประเพณีต่างๆ ในภาคกลาง


          ประเพณีตักบาตรดอกไม้ : Festival of Floral Offerings
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ประเพณีตักบาตรเทโว
ประเพณีทำขวัญข้าว
ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีโยนบัว
ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ : Candle Festival
ม่วนซื่นหมู่เฮา!



ประเพณีต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเพณีแห่ผีตาโขน : Phi Ta Khon Festival
ประเพณีแห่นางแมว (พิธีขอฝนของคนอีสาน)
ประเพณีบุญเบิกฟ้า
ประเพณีบุญผะเหวด
งานประเพณีตีช้างน้ำนอง
ประเพณีแซนโฎนตา
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีบุญบั้งไฟ : Rocket Festival
ประเพณีแห่เทียนพรรษา : Candle Festival
ประเพณีไหลเรือไฟ
ทอดผ้าป่ากลางน้ำ
เทศกาลผลไม้
ทำบุญกลางทุ่ง
ทอดผ้าป่าโจร
วันลอยกระทง 



          ประเพณีต่างๆ ในภาคใต้

ประเพณีให้ทานไฟ
ประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีลากพระ
ประเพณีอาบน้ำคนแก่
ประเพณีสวดด้าน
ประเพณีแห่นางดาน
ประเพณีกวนข้าวยาคู
ประเพณียกขันหมากพระปฐม
ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ประเพณีดำนา
สืบสานตำนานเกษตร(ประเพณีดำนา)ความภูมิใจของชาวม.เกษตร กำแพงแสน


ประเพณีอื่น ๆ

ประเพณีสงกรานต์
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย
ประเพณีลอยเรือ
ประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีลอยโคม
ประเพณีบวชลูกแก้วหรือปอยส่างลอง
ประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีผีตาโขน
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีลอยกระทงสาย
งานประเพณีลอยกระทง
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ




ประเพณี อุ้มพระดำน้ำ แห่งเมืองเพชรบูรณ์ ตำนานที่ถูกเล่าขานมากว่า 400 ปี
โดยมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก แต่อยู่มาวันหนึ่ง เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น โดยกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อย จนแลดูคล้ายน้ำเดือด จากนั้นกลายเป็นวังวนดูดเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ทำให้ชาวประมง ต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ
แต่ในปีถัดมาตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 วันประเพณีสารทไทย พระพุทธรูปดังกล่าวหายไป ชาวบ้านต่างพากันระงมหา สุดท้ายไปพบพระพุทธรูปกลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณที่พบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรก กำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่าย จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ อีกครั้งหนึ่ง พร้อมร่วมกันถวายนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา
ประเพณีวิ่งควาย
ประเพณีแห่ปลา
ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธตุวัดนางชี
ประเพณีแข่งเรือ
ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
ประเพณีการทอดผ้าป่า
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีออกพรรษา ตักบาตรเทโว
ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา หล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา
ประเพณีตรุษสงกรานต์ 26 ประเพณีทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน
ประเพณีการทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ
ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
ประเพณีหมั้นและแต่งงาน
ประเพณีบวช
ประเพณีและพิธีโกนจุก
ที่มา ประเพณีไทย
**บางประเพณีรู้จักกันทั้งประเทศ แต่อาจจะโดดเด่นที่สุดในบางจังหวัด

ประเพณี



ประเพณี

            ประเพณี (อังกฤษ: tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณี


ความหมายของประเพณี

            คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา 
จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไปโดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแปลกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ



การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่สืบไปจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนไทยทุกคน ซึ่งมีหลายวิธีการด...